ฝากขังระหว่างสอบสวน

  • เมื่อเจ้าหน้าที่ชุดจับกุม ควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ ก็จะส่งตัวผู้ต้องหา พร้อมบันทึกการจับกุม ให้กับพนักงานสอบสวนเพื่อทำการสอบปากคำผู้ต้องหา แสกนลายนิ้วมือตามขั้นตอน หลังจากนั้น พนักงานสอบสวนมีอำนาจคุมตัวผู้ต้องหาได้เพียง ๔๘ ชั่วโมง หากไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว (การประกันตัว) พนักงานสอบสวนต้องพาผู้ต้องหาไปศาล เพื่อขออนุญาตฝากขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๗ ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๔๕

เรื่องของการรับฝากขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนนั้น มีขั้นตอนการปฏิบัติแบ่งออกเป็น ๓ ห้วงการปฏิบัติ

  • ห้วงที่ ๑ คือการรับฝากขังครั้งแรก
  • ห้วงที่ ๒ คือการรับฝากขังครั้งที่ ๒ ถึงครั้งที่ ๔
  • ห้วงที่ ๓ คือการรับฝากขังครั้งที่ ๕ ถึงครั้งที่ ๗

( เหตุที่ต้องมี ๓ ห้วงการปฏิบัติ จะบรรยายเพิ่มเติมไว้ในช่วงท้ายของบทความนะครับเ)

การรับฝากขังผู้ต้องหาครั้งแรก

เมื่อได้รับเอกสารแบบคำร้อง ให้ตรวจสอบความถูกต้อง ๕ ข้อ ดังต่อไปนี้

     ๑.ผู้ต้องหา อยู่ในอำนาจของศาลทหารหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๖

     ๒.ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๒๑

     ๓.แบบคำร้อง ต้องใช้แบบพิมพ์ ธน.๑๓๐ ซึ่งเป็นแบบพิมพ์คำร้องขอฝากขัง (ครั้งแรก) ตามที่ระเบียบราชการศาลทหารกำหนด

     ๔.ผู้ร้อง ต้องเป็นพนักงานสอบสวน/พนักงานอัยการ/ผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้บังคับบัญชาของผู้จะถูกคุมขังนั้น

     ๕.ผู้ร้อง ต้องเป็นผู้มายื่นคำร้อง พร้อมนำตัวผู้ต้องหามาส่งด้วยตนเอง

เมื่อทำการตรวจสอบความถูกต้อง ๕ ข้อข้างต้นเรียบร้อยแล้ว เข้าสู่ ๑๐ ขั้นตอนการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

     ๑.ปั๊มรับเอกสาร (มุมบนขวา) ในสมุด “บัญชีรับคำร้องและคำคู่ความ”

     ๒.ลงรับในสมุด “บัญชีรับคำร้องขอฝากขัง”

     ๓.นำคำร้องพร้อมแนบสำเนาคำสั่งแต่งตั้งตุลาการ เสนอต่อตุลาการ

     ๔.นำผู้ร้องและผู้ต้องหาเข้าห้องพิจารณา จัดให้ผู้ร้องอยู่ทางด้านขวา และผู้ต้องหาอยู่ทางด้านซ้ายของตุลาการ

     ๕.เมื่อตุลาการสอบผู้ร้อง ผู้ต้องหา และสั่งออกหมายขังระหว่างสอบสวนแล้ว เจ้าหน้าที่นำเอกสารคำร้องให้ผู้ร้องและผู้ต้องหา ลงชื่อในท้ายบันทึกของตุลาการ

     ๖.ติดต่อเจ้าหน้าที่เรือนจำทหารมารับตัวผู้ต้องหาไปคุมขัง

     ๗.พิมพ์ “หมายขังระหว่างสอบสวน” ตามแบบพิมพ์ ธน.๒๑๐ และพิมพ์ “หมายเบิกผู้ต้องขัง” (ระหว่างสอบสวน) ตามแบบพิมพ์ ธน.๒๐๑ จำนวน ๒ ชุด เสนอตุลาการเพื่อลงชื่อในหมายทั้งสอง จากนั้นประทับตาชาด และลงบันทึกในสมุด “บัญชีคุมหมายขังระหว่างสอบสวน” ตามแบบพิมพ์ ธน.๓๒๐ และสมุด “บัญชีหมายเบิกผู้ต้องขัง”

     ๘.แจ้งผู้ร้องให้ควบคุมผู้ต้องหาไว้ก่อน จนกว่าเจ้าหน้าที่เรือนจำทหารมารับตัว

     ๙.ประทับตราส่งหนังสือที่มุมล่างด้านซ้ายของ “หมายขังระหว่างสอบสวน” และ “หมายเบิกผู้ต้องขัง” โดยให้เจ้าหน้าที่เรือนจำทหาร ลงชื่อ ตำแหน่ง วันเดือนปี เวลา ในสำเนาของหมายทั้งสอง แล้วจึงให้ผู้ร้องมอบตัวผู้ต้องหาให้เจ้าหน้าที่เรือนจำรับไปคุมขัง

     ๑๐.ให้รวบรวมเอกสารทั้งหมด ไว้เป็นสำนวน

 

————————————-

การรับฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ ๒ – ๔ คำร้องขอฝากขัง (ต่อ) ครั้งที่ …..

เมื่อได้รับเอกสารแบบคำร้อง ให้ตรวจสอบความถูกต้อง ๓ ข้อ ดังต่อไปนี้

     ๑.แบบคำร้อง ต้องใช้แบบพิมพ์ ธน.๑๓๑ ซึ่งเป็นแบบพิมพ์คำร้องขอฝากขัง (ต่อ) ตามที่ระเบียบราชการศาลทหารกำหนด

     ๒.ผู้ร้อง ต้องเป็นพนักงานสอบสวน/พนักงานอัยการ/ผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้บังคับบัญชาของผู้จะถูกคุมขังนั้น

     ๓.ผู้ร้อง ต้องเป็นผู้มายื่นคำร้อง พร้อมนำตัวผู้ต้องหามาส่งด้วยตนเอง

เมื่อทำการตรวจสอบความถูกต้อง ๓ ข้อข้างต้นเรียบร้อยแล้ว เข้าสู่ ๑๐ ขั้นตอนการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

     ๑.ปั๊มรับเอกสาร (มุมบนขวา) ในสมุด “บัญชีรับคำร้องและคำคู่ความ”

     ๒.ลงรับในสมุด “บัญชีรับคำร้องขอฝากขัง”

     ๓.นำสำนวนฝากขังครั้งก่อน แนบท้ายคำร้อง แล้วนำเสนอต่อตุลาการ

     ๔.นำผู้ร้องและผู้ต้องหาเข้าห้องพิจารณา จัดให้ผู้ร้องอยู่ทางด้านขวา และผู้ต้องหาอยู่ทางด้านซ้ายของตุลาการ

     ๕.เมื่อตุลาการสอบผู้ร้อง ผู้ต้องหา และสั่งออกหมายขังระหว่างสอบสวนแล้ว เจ้าหน้าที่นำเอกสารคำร้องให้ผู้ร้องและผู้ต้องหา ลงชื่อในท้ายบันทึกของตุลาการ

     ๖.พิมพ์ “หมายขังระหว่างสอบสวน” ตามแบบพิมพ์ ธน.๒๑๐ และพิมพ์ “หมายเบิกผู้ต้องขัง” (ระหว่างสอบสวน) ตามแบบพิมพ์ ธน.๒๐๑ จำนวน ๒ ชุด เสนอตุลาการเพื่อลงชื่อในหมายทั้งสอง จากนั้นประทับตาชาด และลงบันทึกในสมุด “บัญชีคุมหมายขังระหว่างสอบสวน” ตามแบบพิมพ์ ธน.๓๒๐ และสมุด “บัญชีหมายเบิกผู้ต้องขัง”

     ๗.ประทับตราส่งหนังสือที่มุมล่างด้านซ้ายของ “หมายขังระหว่างสอบสวน” และ “หมายเบิกผู้ต้องขัง” โดยให้เจ้าหน้าที่เรือนจำทหาร ลงชื่อ ตำแหน่ง วันเดือนปี เวลา ในสำเนาของหมายทั้งสอง แล้วให้เจ้าหน้าที่เรือนจำทหาร นำตัวผู้ต้องหากลับไปคุมขังต่อ

๘.รวบรวมเอกสารทั้งหมด เข้าไว้ในสำนวนตามลำดับ

————————————

การรับฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ ๕ – ๗ คำร้องขอฝากขัง (ต่อ) ครั้งที่ …..

สำหรับการรับคำร้องขอฝากขังครั้งที่ ๕ – ครั้งที่ ๗ นี้ ศาลจะทำการไต่สวนผู้ร้อง เพื่อให้ทราบความคืบหน้าผลการสอบสวน เมื่อได้รับเอกสารแบบคำร้อง ให้ตรวจสอบความถูกต้อง ๓ ข้อ ดังต่อไปนี้

     ๑.แบบคำร้อง ต้องใช้แบบพิมพ์ ธน.๑๓๑ ซึ่งเป็นแบบพิมพ์คำร้องขอฝากขัง (ต่อ) ตามที่ระเบียบราชการศาลทหารกำหนด

     ๒.ผู้ร้อง ต้องเป็นพนักงานสอบสวน/พนักงานอัยการ/ผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้บังคับบัญชาของผู้จะถูกคุมขังนั้น

     ๓.ผู้ร้อง ต้องเป็นผู้มายื่นคำร้อง พร้อมนำตัวผู้ต้องหามาส่งด้วยตนเอง

เมื่อทำการตรวจสอบความถูกต้อง ๓ ข้อข้างต้นเรียบร้อยแล้ว เข้าสู่ ๘ ขั้นตอนการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

     ๑.ปั๊มรับเอกสาร (มุมบนขวา) ในสมุด “บัญชีรับคำร้องและคำคู่ความ”

     ๒.ลงรับในสมุด “บัญชีรับคำร้องขอฝากขัง”

     ๓.นำสำนวนฝากขังครั้งก่อน แนบท้ายคำร้อง แล้วนำเสนอต่อตุลาการ

     ๔.นำผู้ร้องและผู้ต้องหาเข้าห้องพิจารณา จัดให้ผู้ร้องอยู่ทางด้านขวา และผู้ต้องหาอยู่ทางด้านซ้ายของตุลาการ

     ๕.ก่อนเริ่มทำการไต่สวน จัดให้ผู้ร้องกล่าวคำปฏิญาณตน ตามที่ระเบียบราชการศาลทหารกำหนด เมื่อตุลาการได้ไต่สวนเสร็จแล้ว หากตุลาการอนุญาตและสั่งออกหมายขังระหว่างสอบสวนต่อไปอีก ให้เจ้าหน้าที่นำเอกสารคำร้องให้ผู้ร้องและผู้ต้องหา ลงชื่อในท้ายบันทึกของตุลาการ

     ๖.พิมพ์ “หมายขังระหว่างสอบสวน” ตามแบบพิมพ์ ธน.๒๑๐ และพิมพ์ “หมายเบิกผู้ต้องขัง” (ระหว่างสอบสวน) ตามแบบพิมพ์ ธน.๒๐๑ จำนวน ๒ ชุด เสนอตุลาการเพื่อลงชื่อในหมายทั้งสอง จากนั้นประทับตาชาด และลงบันทึกในสมุด “บัญชีคุมหมายขังระหว่างสอบสวน” ตามแบบพิมพ์ ธน.๓๒๐ และสมุด “บัญชีหมายเบิกผู้ต้องขัง”

     ๗.ประทับตราส่งหนังสือที่มุมล่างด้านซ้ายของ “หมายขังระหว่างสอบสวน” และ “หมายเบิกผู้ต้องขัง” โดยให้เจ้าหน้าที่เรือนจำทหาร ลงชื่อ ตำแหน่ง วันเดือนปี เวลา ในสำเนาของหมายทั้งสอง แล้วให้เจ้าหน้าที่เรือนจำทหาร นำตัวผู้ต้องหากลับไปคุมขังต่อ

     ๘.รวบรวมเอกสารทั้งหมด เข้าไว้ในสำนวนตามลำดับ

————————————

Scroll to Top